วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

วันครู

ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา 2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น 3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้ 4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู 5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา 6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ 7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน 8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ 9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา 10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

บทสวดเคารพครูอาจารย์

คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์
ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ
ข้าขอประนมกระพุ่ม อภิวาทนาการกราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรรสิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประครองธรรม์ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอนให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพรท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลยุบลสารโอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาลไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญลุฉลาดประสาทสรรพ์บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์ครันเพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล มนเทิดผดุงธรรมปวงข้าประดานิกรศิษ (ษ) ยะคิดระลึกคำด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณโปรดอวยพรสุพิธพรอเนก อดิเรกเพราะแรงบุญส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน- ทรศิษย์เสมอเทอญฯ

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดนก (อังกฤษ: avian influenza หรือชื่อสามัญ bird flu) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชื่อ H5N1 ซึ่งพบได้ในสัตว์ปีก ค้นพบครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน โรคนี้ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
การระบาดของไข้หวัดนก สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะในประเทศไทยและเวียดนาม มีการฆ่าสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ในฟาร์มไปหลายล้านตัว เพื่อระงับการแพร่กระจายของโรค

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดนก (Source: Dr. Erskine Palmer, CDC).
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติการระบาด
1.1 ประเทศจีนและฮ่องกง
1.2 ประเทศเวียดนาม
1.3 ประเทศไทย
1.4 ประเทศญี่ปุ่น
2 การตรวจวินิจฉัยโรค
3 วัคซีนป้องกัน
4 ไข้หวัดนกในคน
5 อ้างอิง
6 แหล่งข้อมูลอื่น
//

[แก้] ประวัติการระบาด
เริ่มระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2460-2461 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่สเปน" (Spanish Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 20-40 ล้านคน
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500-2501 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่เอเซีย" (Asian Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน
ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง" (Hong Kong Flu) มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1-4 ล้านคน

[แก้] ประเทศจีนและฮ่องกง
ต่อมาเกิดการระบาดขึ้นอีกโดยเริ่มต้นที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 ในครั้งนั้นมีผู้ติดเชื้อ 18 คน เสียชีวิตไป 6 คน และเมือง Chaohu ในประเทศจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และล่าสุดพบนกกระยางป่วยที่พบในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตเมืองใหม่ของฮ่องกงเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พบว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 [1]
มีนาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานการระบาดที่ในตลาดใหม่จินฮวาเขตลี่วาน เมืองกว่างโจว ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 114 ตัว และมีการฆ่าทำลายสัตว์ปีกอีก 518 ตัว [2]

[แก้] ประเทศเวียดนาม
มีนาคม พ.ศ. 2550 เชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเป็ดอายุ 45 วัน ในจังหวัดวินห์ลอง บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยเป็ดเหล่านั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1และ ทางการเวียดนามได้สั่งฆ่าเป็ดไปแล้ว 800 ตัว และสั่งฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดที่อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 140 กม.[3]
พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พบการระบาดของไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ดอีกแห่งนอกเมืองไฮฟอง ทำให้ลูกเป็ดอายุ 14 วัน ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนล้มตาย 2,120 ตัว และผลตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 นับเป็นการระบาดของไข้หวัดนกครั้งที่ 2 ในพื้นที่ดังกล่าว [4] และเวียดนามพบการติดเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกที่จังหวัดเงียอาน ของเวียดนาม [5]

[แก้] ประเทศไทย
มีการระบาดมาสู่ประเทศไทย บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี

[แก้] ประเทศญี่ปุ่น
พบไวรัสไข้หวัดนก ในซาก " อินทรีเหยี่ยวภูเขา" มีผู้พบอินทรีตัวดังกล่าวมีอาการป่วย ที่หมู่บ้านซาการ่า ในจังหวัดคุมาโมโต้ ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2550[6]

[แก้] การตรวจวินิจฉัยโรค
ไข้หวัดนกในระยะแรกต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนาน 3-4 วันโดยวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 คือวิธีการเพาะแยกเชื้อไวรัสในไข่ไก่ฟักหรือเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อ พ.ศ. 2551 ทีมวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจสอบไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ครอบคลุมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ต้นทุนการตรวจต่ำและรู้ผลภายใน 1 วันได้สำเร็จ [7]

[แก้] วัคซีนป้องกัน
สหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนไข้หวัดนกตัวแรก โดยสร้างจากสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในคน เมื่อ พ.ศ. 2550[8] ในประเทศจีน พ.ศ. 2551 บริษัทชีวผลิตภัณฑ์เคอซิงปักกิ่ง ผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและใช้กับอาสาสมัครกว่า 500 ซึ่งยืนยันว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผล [9]

[แก้] ไข้หวัดนกในคน
โดยปกติ ไข้หวัดนกไม่ติดต่อกับมนุษย์ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์คนจะติดไวรัส เรียกว่าไข้หวัดนกในคน มักเกิดขึ้นในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว จากอายุ 18 – 20 ปี และมีอัตราการตายสูงกว่า 60% [10]

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

http://chawengsakd.blogspot.com/
อาจารย์ครับวันจันทร์ที่ 29 ผมไม่ได้โดดนะครับผมไปโรงเรียนสาย เนื่องจากรถติด